สิ่งสำคัญภายหลังการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm Systems)
สิ่งสำคัญภายหลังการติดตั้งระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm Systems) คือ การบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Preventive Maintenance Fire Alarm System)
เพราะจะทำให้การทำงานของระบบทั้งหมดนั้น มีความพร้อมในการตรวจจับ และสามารถทำการแจ้งเตือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะอุปกรณ์ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต่างๆ เป็นอุปกรณ์อิเล็คโทรนิค ที่มีขีดจำกัดในการทำงานตามสภาวะแวดล้อม และสามารถเสื่อมสภาพได้ตามกาลเวลา กับสิ่งที่ทำให้อุปกรณ์เกิดปัญหาต่างๆ ได้เช่น การติดตั้งที่ไม่ได้มาตรฐาน กับสายหลุดจากจุดเชื่อมต่อ กับสายชำรุด-ขาด กับเกิดการลัดวงจร ลงกราวน์ กับ ติดตั้งอุปกรณ์ไว้ในจุดที่อุณหภูมิต่างๆ มากเกินกว่าที่ตัวอุปกรณ์จะรองรับได้และปัญหาจากฝุ่นกับแมลงต่างๆ ไปทำให้ระบบอุปกรณ์ทำงานผิดพลาด หรืออาจเสียได้ด้วยปัญหาต่างๆ ของ ระบบอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ ดังกล่าวนี้ ทำให้จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาระบบ อย่างสม่ำเสมอ และควรทำอย่างต่อเนื่อง จงอย่าคาดหวังกับระบบที่ไม่มีการบำรุงรักษา และ ขาดการดูแลจาก
ผู้ใช้งาน ถึงแม้จะมีเจ้าหน้าที่เฝ้าไว้อยู่ตลาดเวลาก็คงจะทำอะไรได้ไม่ทัน ถ้าไม่ทราบเหตุเพลิงไหม้ และตำแหน่งจุดเกิดเหตุอย่างรวดเร็ว
มาตรฐานการตรวจสอบ กับทดสอบ และบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
1.มักจะจัดเป็นรายสัปดาห์รายครึ่งปี และรายปี
1.1. รายสัปดาห์ มักจะเป็นการตรวจสอบด้วยสายตา เช่น ความเรียบร้อยโดยทั่วไปของระบบอุปกรณ์ ยังมีอยู่ครบถ้วนหรือไม่ กับป้ายเตือนต่างๆ อยู่ในสภาพและตำแหน่งที่สังเกตได้ชัดเจนเหมือนเดิมหรือไม่ กับวาล์วควบคุมระบบต่างๆ ยังอยู่ในตำแหน่งปกติหรือไม่ และเกจวัดความดันของระบบต่างๆ ชี้ความดันที่เหมาะสมหรือไม่ อาจจะมีการทดสอบบ้าง เช่น กดปุ่ม Lamp Test ที่บนตู้ควบคุมระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm Control Panel) เพื่อตรวจสอบ หลอดไฟสัญญาณของตู้ควบคุม และเสียงแจ้งเตือน (Buzzer) เวลารับสัญญาณแจ้งเหตุ ซึ่งแทบจะไม่ได้ใช้งานเลยว่ายังทำงานได้ตามปกติหรือไม่ และ การติดเครื่องสูบน้ำดับเพลิงที่ขับเคลื่อน ด้วยเครื่องยนต์ดีเซลชั่วขณะ (Fire Pump) มักจะทำนานพอที่จะให้อุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นสูงขึ้นถึงจุดใช้งานปกติของเครื่องยนต์นั้นๆ และเกิดการไหลเวียนของน้ำหล่อเย็น ส่วนใหญ่จะให้ช่างประจำสถานที่นั้นเป็นผู้จัดทำ พร้อมทำรายงานเก็บไว้เป็นรายสัปดาห์
1.2. รายครึ่งปี หรือ เรียกอีกอย่างว่าสองครั้งต่อปี มักจะเป็นการทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับ เช่น Smoke Detector, Heat Detector, Beam Smoke Detector ,Flame Detector และ Manual Station โดยกระตุ้นให้อุปกรณ์ทำงาน และส่งสัญญาณไปที่ ตู้ควบคุม (Fire Alarm Control Panel) โดยก่อนทดสอบจะต้องเซ็ตให้ตู้ควบคุม ทำงานอยู่ในรูปแบบของการทดสอบอุปกรณ์ (Test Mode) ก่อน คือ แม้จะมีสัญญาณเข้ามาแต่จะไม่นำสัญญาณนั้นมาสรุปผลว่าเป็นเพลิงไหม้แต่จะรับทราบว่าเป็นผลจากการทดสอบการทดสอบรายครึ่งปีนี้ จะรวมไปถึงการทำความสะอาดอุปกรณ์ เช่น ถอดตัวอุปกรณ์ (Detector) ต่างๆ ออกจากจุดแล้วนำมาเป่าด้วยลมเพื่อไล่ฝุ่นออกจากตัวอุปกรณ์กับเช็ดทำความสะอาด กับการทำความสะอาดเลนส์ของ Beam Smoke Detector และ Flame Detector และ ตรวจดูสภาพความพร้อมของอุปกรณ์แจ้งเหตุเพลิงไหม้ด้วยมือ (Manual Station) กับเช็ดทำความสะอาด เมื่อถอดเอา Smoke หรือ Heat Detector ออกจากจุดก็ให้ถือโอกาสทดสอบการเช็ควงจร (Supervisory Circuit) ของที่ตู้ควบคุมไปด้วย คือ เมื่อได้ถอด เอา Smoke หรือ Heat Detector ออกมาแล้วจะต้องมีสัญญาณแจ้งปัญหา (Trouble) ไปที่ตู้ควบคุมด้วย แสดงว่าตู้ควบคุมสามารถตรวจสอบได้ว่าเกิดปัญหากับอุปกรณ์ หรือ มีอุปกรณ์ถูกถอดออกไป สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector) อาจตัด ไฟเลี้ยงที่ตัวอุปกรณ์ เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของตู้ควบคุม
ส่วนอุปกรณ์แจ้งเหตุ ด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) ให้ทดสอบโดยการ ดึง หรือ กด หรือไขกุญแจทดสอบ เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของตู้ควบคุม ในลักษณะเดียวกัน หลังจากที่ทดสอบการ เช็ควงจร (Supervisory Circuit) กับทำความสะอาด จึงต่อด้วยการทดสอบสัญญาณ ส่วนใหญ่จะให้บริษัทที่รับ “บำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้” เป็นผู้ทำให้
1.3. รายปี หรือทดสอบใหญ่หนึ่งครั้งต่อปี จะเป็นการทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับที่มีทั้งหมด เช่น Smoke Detector ,Heat Detector ,Beam Smoke Detector ,Flame
Detector และ Manual Station โดยกระตุ้นให้อุปกรณ์ทำงาน และส่งสัญญาณไปที่ ตู้ควบคุม (Fire Alarm Control Panel) โดยก่อนทดสอบจะต้องเซ็ทให้ตู้ควบคุม ทำงานอยู่ในรูปแบบของการทดสอบอุปกรณ์ (Test Mode) ก่อน คือ แม้จะมีสัญญาณเข้ามาแต่จะไม่นำสัญญาณนั้นมาสรุปผลว่าเป็นเพลิงไหม้แต่จะรับทราบว่าเป็นผลจากการทดสอบการทดสอบรายครึ่งปีนี้ จะรวมไปถึง
การทำความสะอาดอุปกรณ์ เช่น ถอดตัวอุปกรณ์ (Detector) ต่างๆ ออกจากจุดแล้วนำมาเป่าด้วยลมเพื่อไล่ฝุ่นออกจากตัวอุปกรณ์กับเช็ดทำความสะอาด กับการทำความสะอาดเลนส์ของ Beam Smoke Detector และ Flame Detector และตรวจดูสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ Manual Station กับเช็ดทำความสะอาด เมื่อถอดเอา Smoke หรือ Heat Detector ออกจากจุดก็ให้ถือโอกาสทดสอบการเช็ควงจร (Supervisory Circuit) ของที่ตู้ควบคุมไปด้วย คือ เมื่อได้ถอดเอา Smoke หรือ Heat Detector ออกมาแล้วจะต้องมีสัญญาณแจ้งปัญหา (Trouble) ไปที่ตู้ควบคุมด้วย แสดงว่าตู้ควบคุมสามารถตรวจสอบได้ว่าเกิดปัญหากับอุปกรณ์ หรือ มีอุปกรณ์ถูกถอดออกไป สำหรับอุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector) อาจตัดไฟเลี้ยงที่ตัวอุปกรณ์ เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของตู้ควบคุม ส่วนอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) ให้ทดสอบโดยการ ดึง หรือ กด หรือไขกุญแจทดสอบเพื่อตรวจสอบการตอบสนองของตู้ควบคุม ในลักษณะเดียวกัน หลังจากที่ทดสอบการเช็ควงจร (Supervisory Circuit) กับทำความสะอาด จึงต่อด้วยการทดสอบสัญญาณการทดสอบในรายปีนี้ จะต้องมีการเตรียมการที่รัดกุม เช่น แจ้งกับผู้อยู่ในอาคารทราบว่าจะมีสัญญาณเตือนภัย หรืออาจจะให้ทดสอบระบบนี้ไปพร้อมๆ กับการฝึกซ้อมรายปีส่วนใหญ่จะให้บริษัทที่รับ “บำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้” เป็นผู้ทำให้การทดสอบในรายคาบนี้ไม่จำเป็นจะต้องทดสอบอุปกรณ์ให้หมดทุกชิ้นในคราวเดียว แต่อาจจะแบ่งระบบออกเป็นส่วนๆ เพื่อทดสอบเป็นคาบย่อยๆ ได้เช่น ทดสอบพวก Smoke Detector กับ Heat Detector กับ Beam Smoke Detector กับ Flame Detector และ Manual Station ทุกๆ เดือน โดยทำเดือนละ 1 ใน 6 ของจำนวน Detector ทั้งหมด ก็จะทำให้ Detector ทุกตัวผ่านการทดสอบปีละสองครั้งตามกำหนด การจัดแบ่งออกเป็นคาบย่อยๆ ทำให้สะดวกต่อการจัดการมากกว่าด้วย การบำรุงรักษาที่เหมาะสมจะช่วยให้ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ หรือ ระบบ
ป้องกันอัคคีภัย คงสมรรถนะตามที่ออกแบบไว้ ทำให้แน่ใจได้ว่าระบบมีความไว้วางใจได้ตามปกติ และจะทำให้ลดโอกาสของการทำงานที่ผิดพลาด
การตรวจสอบ กับทดสอบ และบำรุงรักษาระบบ มีรายละเอียดดังนี้
1. ตู้ควบคุม(Fire Alarm Control Panel) และตู้แสดงผล (Graphic Annunciator)
1.1. ตรวจเช็คการเข้าสายต่างๆ ที่จุดปลายทาง (Terminal) บนบอร์ด (Board) และการ์ด(Cards) เชื่อมต่อต่างๆ ภายในตู้ควบคุม โดยเข้าสายให้เรียบร้อยในกรณีที่สายหลวมหรือไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
1.2. ตรวจเช็คแหล่งจ่ายไฟ และแบตเตอรี่ โดยดูขั้วต่อสาย กับวัดกระแสไฟเข้า-ออกปกติหรือไม่
1.3. ตรวจเช็คแบตเตอรี่ โดยดูขั้วต่อว่าเป็นสนิมหรือไม่ กับตรวจสอบวันหมดอายุ และวัดกระแสไฟเข้า-ออกปกติหรือไม่
1.4. ตรวจเช็คดวงไฟ LED แสดงสถานะทุกๆดวง
1.5. ตรวจเช็คสวิทซ์ (Switch) ควบคุมระบบต่างๆ
1.6. ตรวจสอบหน้าจอ LCD หรือ LED และการแสดงผล
1.7. ทำความสะอาด โดยการปัดฝุ่น และเช็ดทำความสะอาดตู้
2.ตรวจสอบปัญหา(Trouble) ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบ (กรณีเกิดปัญหา)
2.1. เช็คว่าปัญหา (Trouble) ที่เกิดขึ้นจากสาเหตุใด
2.2. สรุปปัญหาที่เกิดขึ้น และดำเนินการแก้ไข แต่หากเป็นปัญหาที่เกิดจากสายไฟฟ้า เช่น สายขาด กับสายหลุดจากจุดเชื่อมต่อ กับความผิดพลาดที่กราวนด์ (Ground Fault) หรือพบอุปกรณ์เสียหาย จำเป็นต้องตรวจเช็ค และแก้ไข หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ ควรแจ้งให้ผู้ว่าจ้างทราบค่าใช้จ่ายในส่วนที่จะต้องแก้ไขเพิ่มเติมนี้ก่อนในรายงาน เพื่อให้ทางผู้ว่าจ้างอนุมัติสรุปค่าแก้ไขตามรายงาน
3. ทำการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์(Device) ตามฟังก์ชั่น (Function) การทำงาน
3.1. การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ชนิดต่างๆ จะทดสอบโดยการใช้อุปกรณ์ทดสอบตัวตรวจจับควัน (Smoke Detector Tester) เช่น สเปรย์ควันเทียม
3.2. การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ชนิด ตรวจจับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าที่กำหนดไว้ (Rate of Rise) ทดสอบโดยการใช้อุปกรณ์เป่าลมร้อน
3.3. การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ชนิด ตรวจจับอุณหภูมิคงที่สูงมากกว่าที่กำหนดไว้ (Fixed Temperature) ทดสอบโดยการวัดค่าที่สายไฟเข้าตัวอุปกรณ์ว่าปกติหรือไม่
3.4. การทดสอบอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ทั้งชนิดตรวจจับอุณหภูมิคงที่และตรวจจับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเกินกว่าที่กำหนด (Rate of Rise /Fixed Temperature)ทดสอบโดยการวัดค่าที่สายไฟเข้าตัวอุปกรณ์ว่าปกติหรือไม่ ใช้สเปรย์เทสควันเทียมทดสอบ (Smoke Tester) กับใช้อุปกรณ์เป่าลมร้อน
3.5. การทดสอบอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) ทดสอบโดยการใช้งานจริงเช่น ดึง
คันโยกลง (Pull Down) หรือกดปุ่ม (Push Button) หรือแบบทุบกระจกให้แตก(Breakglass)
3.6. ทดสอบสัญญาณการแจ้งเตือนปัญหา (Trouble) ทดสอบโดยการทำให้เกิดปัญหา เช่น ปลดสายโซนอุปกรณ์ตรวจจับ (Zone Detector) ออกจากบนบอร์ดแผงวงจรที่ตู้ควบคุมหรือถอดออกจากอุปกรณ์โมดูลที่ควบคุม (Module) หรือให้ถอดอุปกรณ์ตรวจจับส่วนหัว(Head Detector) ออกจากฐานอุปกรณ์ (Detector Base) หรือ ถอดอุปกรณ์ต่างๆ ออกจากระบบ แล้วรอดูผลการแจ้งปัญหาว่าตรงตามที่ได้ทำให้เกิดปัญหาไปหรือไม่
3.7. ทดสอบสัญญาณแจ้งเตือน (Alarm Bell) ที่เกิดจากอุปกรณ์ตรวจจับ (Detector) ต่างๆ และอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือผู้ใช้ (Manual Station) ตามฟังก์ชั่น (Function) การแจ้งเตือนแบบต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้
4. สรุปปัญหาและผลการทดสอบทั้งหมดตั้งแต่ข้อที่1 ถึงข้อที่ 3 ลงในบันทึก เพื่อทำรายงานส่งให้ทางผู้ว่าจ้างเงื่อนไขการให้บริการ : บำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ Terms of Service : Preventive Maintenance Fire Alarm System
5. ต้องเป็นอุปกรณ์ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้แบรนด์ที่ทางบริษัทฯ รับให้การบริการบำรุงรักษาระบบเท่านั้น คือ Notifier หรือ System Sensor
6. ผู้ที่ต้องการใช้บริการบำรุงรักษาระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ต้องแจ้งข้อมูลระบบอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ให้ทางบริษัทฯ ทราบก่อนเพื่อนำเสนอราคาให้ ดังนี้
- แบรนด์ กับรุ่น และจำนวนโซนของ ตู้ควบคุมระบบ (Fire Alarm Control Panel) ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน
- แบรนด์ กับรุ่น และจำนวนทั้งหมด ของ อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน
- แบรนด์ กับรุ่น และจำนวนทั้งหมด ของ อุปกรณ์ตรวจจับควันด้วยลำแสงบีม (Beam Smoke Detector) ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน
- แบรนด์ กับรุ่น และจำนวนทั้งหมด ของ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector) ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน
- แบรนด์ กับรุ่น และจำนวนทั้งหมด ของ อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector) ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน
- แบรนด์ กับรุ่น และจำนวนทั้งหมด ของ อุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ (Manual Station) ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน
- แบรนด์ กับรุ่น และจำนวนทั้งหมด ของ อุปกรณ์แจ้งสัญญาณเตือน (Audible Alarm Devices) ที่มีใช้งานอยู่ เช่น Bell ,Horn ,Strobe และ Horn-Strobe หรือ Speaker
- การเดินสายนำสัญญาณของ ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบัน เช่น
– เดินสายนำสัญญาณระบบอุปกรณ์ไว้ แบบ 2 สาย (Two-Wire) Class-B
– เดินสายนำสัญญาณระบบอุปกรณ์ไว้ แบบ 4 สาย (Four-Wire) Class-A - แบบการวางระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Riser Diagram Fire Alarm System) ล่าสุดที่ใช้งานอยู่ปัจจุบัน
ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษา และ การตรวจเช็คระบบไฟอลามที่มีความสำคัญมากในการแจ้งเตือนก่อนเกิดเหตุดังนั้นเราควรทำการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ระบบไฟอลามของเรานั้นมีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานได้อย่างตลอดเวลา